สมบัติของคลื่น

สมบัติของคลื่น

การสะท้อน
    การสะท้อนของคลื่น (Reflection)
เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปสุดเขตของตัวกลาง หรือไปถึงแนวรอยต่อระหว่างตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ไปกับตัวกลางใหม่คลื่นนั้นจะสามารถสะท้อนกลับมาสู่ตัวกลางเดิม เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการสะท้อน

การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือก
เมื่อทำให้เกิดคลื่นดลในเส้นเชือกเคลื่อนที่ไปตามเส้นเชือก กระทบผิวรอยต่อซึ่งเป็นปลายอิสระ (free end)หรือปลายตรึง (fixed end) คลื่นในเส้นเชือกจะสะท้อนกลับดังรูป

รูปภาพแสดงการสะท้อนของคลื่นแบบปลายอิสระ


รูปภาพแสดงการสะท้อนของคลื่นแบบปลายตรึง



- การสะท้อนคลื่นในเชือกปลายอิสระ คลื่นตกกระทบและคลื่นสะท้อนจะมีเฟสตรงกัน
- การสะท้อนคลื่นในเชือกปลายตรึง คลื่นตกกระทบและคลื่นสะท้อนจะมีเฟสตรงข้ามกัน

การหักเห
การหักเหของคลื่น (Refraction)






รูปแสดงการหักเหของคลื่นผิวน้ำ


    คือปรากฏการณ์ที่คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง มีผลให้เกิดการเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตรงบริเวณผิวรอยต่อของตัวกลางทั้งสอง มีความถี่ของคลื่นคงเดิม แต่อัตราเร็ว และความยาวคลื่นเปลี่ยนไป ในที่นี้เราจะศึกษาคลื่นน้ำ ถ้าหากเราสร้างคลื่นต่อเนื่องที่เป็นคลื่นเส้นตรงเคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังบริเวณสอง ซึ่งมีความลึกแตกต่างกัน
    - ข้อสังเกต ในน้ำลึกความเร็ว (v) และความยาวคลื่นจะมากกว่าในน้ำตื้น



การเลี้ยวเบน
      การเลี้ยวแบนของคลื่นเกิดขึ้นได้ เมื่อคลื่นจากแหล่งกเนิดเดินทางไปพบสิ่งกีดขวางที่มีลักษณะเป็นขอบหรือช่องทำให้คลื่นเคลื่อนที่เลี้ยวอ้อมผ่านสิ่งกีดขวางไปได้
อธิบายได้โดยใช้หลักของฮอยเกนส์  ซึ่งกล่าวไว้ว่า "ทุก ๆ จุดบนหน้าคลื่นอาจถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดคลื่นใหม่ที่ให้คลื่นความยาวคลื่นเดิมและเฟสเดียวกัน"



ภาพแสดงคลื่นเลี้ยวเบนผ่านช่องเปิด


เมื่อคลื่นเคลื่อนที่กระทบกับสิ่งกีดขวาง คลื่นส่วนที่กระทบสิ่งกีดขวางจะสะท้อนกลับมา  คลื่น
บางส่วนที่ผ่านไปได้ที่ขอบหรือช่องเปิด จะสามารถแผ่จากขอบของสิ่งกีดขวางเข้าไปทางด้านหลัง
ของสิ่งกีดขวางนั้น คล้ายกับคลื่นเคลื่อนที่อ้อมผ่านสิ่งกีดขวางนั้นได้เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า…"การเลี้ยวเบน(diffraction)






การแทรกสอด
     การแทรกสอดของคลื่น (Interference)




รูปแสดงการแทรกสอดของคลื่นจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์


คือการรวมกันของคลื่นต่อเนื่องสองขบวน อันเนื่องมาจากคลื่นทั้งสองขบวนเคลื่อนที่ไปพบกัน
-ตำแหน่งที่เกิดการรวมแบบเสริมกัน จะมีค่าแอมพลิจูดมาก เรียกตำแหน่งนี้ว่า ปฏิบัพ(Antinode : A)
-ตำแหน่งที่เกิดการรวมแบบหักล้างกันจะมีค่าแอมพลิจูดน้อยเกือบเป็นศูนย์ เรียกตำแหน่งนี้ว่า บัพ(node : N)



รูปแสดงการแทรกสอดของคลื่นจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์